วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรี  ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
ผู้จัดทำ  วรินธร  สิริเดชะ (2550)  เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ควบคุม  ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง , อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์
คูมือการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค
การจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ผูวิจัยเปนผูดําเนินการจัดกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ใหกับเด็กสัปดาหละ 3 วัน คือในวันจันทร พฤหัสบดี ศุกร ระหวาง เวลา 9.109.50 น. เปนเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห รวม 24 กิจกรรม โดยมีจุดมุงหมายเพื่อสงเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร ดังนี้
1. การจัดหมวดหมู
2. การรูคาจํานวน 1 - 10
3. การเปรียบเทียบในเรื่องตอไปนี้ 
- จํานวน  ไดแก มาก นอย เทากัน - ไมเทากัน 
- ปริมาณ ไดแก มาก นอย หนัก เบา 
- ขนาด   ไดแก เล็ก กลาง ใหญ  สูง ต่ำ สั้น ยาว 
- รูปทรงเรขาคณิต ไดแก วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
4. อนุกรม ลักษณะของกิจกรรมเปนกิจกรรมดนตรีที่เด็กไดลงปฏิบัติ โดยผสานกิจกรรมตางๆเขา
ดวยกันอยางผสมกลมกลืน ไดแก   
- คําพูด ( Speech)   
- การรองเพลง (Singing)   
- ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement)   
- การใชรางกายทําจังหวะ (The Use of Body in Percussion)   
- การคิดแตงทํานองหรือทาทางแบบทันทีทันใด (Improvisation)
ซึ่งการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรูในดาน ตางๆผสมผสานเขาไปในกิจกรรมทั้ง 5   ดังกลาว การวิจัยครั้งนี้ตองการศึกษาความสัมพันธของการจัด ประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สัมพันธกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร ในการวาง แผนการจัดกิจกรรมแตละครั้งจึงตองมีการบูรณาการเนื้อหาสาระทางดานคณิตศาสตรกับกิจกรรมดนตรี
เพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตรอยางสัมพันธกัน  เพื่อใหการจัดกิจกรรมดังกลาว บรรลุตามวัตถุประสงค ผูดําเนินการควรมีพื้นฐานความเขาใจ ในเรื่องพัฒนาการเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการ ดนตรี ควรเปนผูที่มีความละเอียด รอบคอบ ชางสังเกต ใจ กวางที่จะใหโอกาสเด็กไดแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของเด็กเชื่อวาดนตรีพัฒนาเด็กๆไดและที่สําคัญ คือ การคํานึงถึงความแตกตางระหวางบุคคล
นอกจากนั้นทุกครั้งกอนที่จะจัดประสบการณกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ในแตละ ครั้ง ผูดําเนินการควรมีการตระเตรียมความพรอมทั้งในดานของสถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนสื่อ อุปกรณที่หลากหลาย เครื่องดนตรีชนิดตางๆที่สอดคลองกับเนื้อหาของกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อใหการดําเนิน กิจกรรมเปนไปอยางราบรื่น และบรรลุตามจุดประสงคที่ตั้งไว
ออรฟเนนใหเด็กไดสัมผัสและมีปฏิสัมพันธกับสื่อมากที่สุด โดยเริ่มจากสื่อที่ใกลตัวขยายสูสื่อที่ ไกลออกไป ดังนั้น สื่อของออรฟจึงเริ่มจากรางกายของเด็กเอง ไปจนถึงสื่อสําเร็จรูปตางๆ เชน เครื่อง ดนตรี เพลง
เพลงที่ออรฟใชในการจัดประสบการณดนตรีแนวออรฟชูคเวิรคนี้มีที่มาหลากหลาย ทั้งจาก เพลงที่ออรฟแตงเอง เพลงที่เด็กแตงขึ้น และเพลงจากนักแตงเพลงทานอื่น ที่สอดคลองกับหลักการของ ออรฟ เนื่องจากเพลงที่ออรฟแตงเองมีไมมากนักและวัตถุประสงคหลักของการเขียนเพลงของออรฟ คือ แตงเพียงเพื่อเปนแบบ (models) เพื่อการ improvisation สวนประกอบที่ออรฟใชแตงเพลงสําหรับเด็ก คือ 1) pentatonic mode (โนต 5ตัว ซึ่งมีความสัมพันธของเสียง โด เร มี ซอ ลา)  2) ostinato patterns และ borduns (แบบแผนของตัวโนตซ้ําๆที่เดินอยูตลอดทั้งเพลง) ซึ่งออรฟตั้งใจใหเด็กคิดขึ้นมาเอง เชน เพลง Day Is New Over ซึ่งเปนเพลงที่มีแบบแผนของเพลงชัดเจน บรรเลงงาย มีทํานองและเนื้อรอง แบงออกเปนทอนๆอยางแนนอน มีทอนลอและทอนรับ ซึ่งงายตอการเลียนแบบเพื่อนําไปคิดแตงทํานอง ตอดวยตนเอง
ดังนั้น ในการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรคนั้น สื่อจึงมีความหลากหลายและมี ความหมายเฉพาะตัว ทั้งสื่อที่ใกลตัว สิ่งที่ประดิษฐเอง และสื่อสําเร็จรูป ผูดําเนินการวิจัยจึงจําเปนตอง ศึกษาและเรียนรู วิธีการใช เปาหมายของสื่อแตละชนิด เพื่อนํามาใชใหสอดคลองกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผูเรียนใหบรรลุตามเปาหมายที่วางไว้
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านอนุกรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น