วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

สัปดาห์ที่ 4
วัน พุธ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
บรรยากาศการเรียนการสอน
       คุณครูแจกกระดาษแข็งให้เขียนชื่อของตนเอง แล้วชื่อให้นำชื่อไปติดที่ตารางการมาเรียนที่คุณครูได้ออกแบบไว้ในช่องเรียน เมื่อเพื่อนทุกคนนำชื่อของตนไปติดที่ตารางเรียบร้อยแล้ว คุณครูได้ให้เพื่อนที่อยู่แถวหน้าชั้นเรียนเขียนชื่อเพื่อนที่ไม่มาเรียนแล้วนำไปติดที่ช่องไม่มาเรียน  และคุณครูได้สอนการนับสำหรับที่จะนำไปสอนเด็กปฐมวัย ขั้นแรกควรใช้การนับแบบเพิ่มทีละ 1  ซึ่งเป็นพื้นฐานของการบวก  จากนี้ยังสามารถใช้การนับแบบจัดเป็นกลุ่มๆได้อีกด้วย  ต่อมาเพื่อให้การนับนั้นง่ายขึ้นคุณครูได้ใส่ตัวเลขฮินดูอารบิกจัดเรียงตามระดับกำกับไว้ด้านหน้าชื่อ  คุณครูถามนักศึกษาว่าถ้านักเรียนมีจำนวนมากจะต้องออกแบบตารางการมาโรงเรียนแบบใด เพื่อนในชั้นเรียนตอบว่า จัดเป็นกลุ่มโดยตั้งชื่อกลุ่มตามรูปทรงเรขาคณิต เพื่อจะได้เสริมประสบการณ์การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ด้วย  อีกทั้งได้การเรียนรู้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์  หากต้องการทราบว่าจำนวนนักเรียนที่มาเรียนกับจำนวนนักเรียนที่ไม่มาเรียนมีส่วนต่างกันเท่าไร ควรสอนให้เด็กจับคู่จำนวนนักเรียนที่มาเรียนและไม่มาเรียนจากจำนวนที่ตารางการมาโรงเรียนแบบ 1 ต่อ 1  ซึ่งเป็นพื้นฐานของการลบ  ดังนั้นเมื่อได้ไปสอนเด็กปฐมวัยควรคิดที่จะนำสาระทางคณิตศาสตร์เสริมเข้าไปในกิจกรรมนั้นๆ  เพื่อให้เด็กได้ลงมือทำเอง ทำให้เด็กเกิดทักษะมากขึ้น  และควรคำนึงถึงการใช้ชีวิตประจำวันด้วย

ทักษะที่ได้รับ
·                     การออกแบบตารางการมาโรงเรียน
·                     การนับ แบบ เพิ่มทีละ 1 และแบบแบ่งเป็นกลุ่มๆ
·                     การหาส่วนต่าง แบบ 1 ต่อ 1

ความรู้ที่ได้รับ
·                     การนับ
·                     การออกแบบตารางการมาโรงเรียน
·                     สาระการเรียนรู้ที่เรียนในวันนี้
              -  จำนวน
              -   การวัด
              -  รูปทรงเรขาคณิต

การนำไปประยุกต์ใช้
·                     จัดการเรียนรู้จากตารางการมาโรงเรียน
·                     สอนการนับให้กับเด็ก
     
เทคการสอนของคุณครู
·                     ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
·                     คุณครูได้มีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เข้าใจได้มากขึ้น
·                     สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม

ประเมินคุณครูผู้สอน

       คุณครูได้อธิบายเนื้อหาการเรียนพร้อมกับยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่าย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถาม

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

สัปดาห์ที่ 3

วัน พุธ ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

บรรยากาศการเรียนการสอน

       คุณครูแจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น  แล้วให้พับกระดาษเป็น 4 ส่วน โดยที่ไม่ลอกเพื่อน เมื่อได้พับกระดาษเสร็จเรียบร้อยแล้ว  คุณครูได้ให้นักศึกษาลองออกแบบการพับกระดาษ 1 แผ่น เป็น 4 ส่วน ว่าจะได้กี่แบบ  และให้นักศึกษาฉีกกระดาษออก 1 ส่วนตามแนวนอน พร้อมกับให้ออกแบบเขียนชื่อของตนเองให้ชื่อสมดุลกับกระดาษ  ต่อมาคุณครูได้สอนในเนื้อหาเกี่ยวกับ เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ คือ ให้เด็กได้เตรียมความด้านต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้

ทักษะที่ได้รับ

  • การเขียนที่ถูกต้อง
  • การแบ่งสัดส่วนของกระดาษ
  • การเขียนให้สมดุลกับกระดาษ

ความรู้ที่ได้รับ

  • วิธีคิดที่แตกต่าง
  • การแบ่งกระดาษเป็น 4 ส่วนสามารถทำได้หลายแบบ
  • สาระการเรียนรู้ที่เด็กควรได้รับเมื่อจบการศึกษาในชั้นระดับอนุบาล
              -  จำนวน
              -   การวัด
              -  รูปทรงเรขาคณิต
              -  พีชคณิต
              -  การคิดวิเคราะห์ข้อมูล  และความน่าจะเป็น
              -  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การนำไปประยุกต์ใช้

  • สอนเด็กในการนับเลข
  • จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
     

เทคการสอนของคุณครู

  • ให้ทำกิจกรรมบริหารสมองก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียน
  • คุณครูพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ
  • สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม

ประเมินคุณครูผู้สอน

       คุณครูได้อธิบายเนื้อหาการเรียนเข้าใจง่าย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถาม  สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม คือ การสร้างแรงบันดาลใจในการที่จะเข้าสู้การเป็นครู
สรุปงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์กิจกรรมดนตรี  ตามแนวออร์ฟ-ชูคเวิร์ค
ผู้จัดทำ  วรินธร  สิริเดชะ (2550)  เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้ควบคุม  ผู้ช่วยศาตราจารย์ จิราภรณ์ บุญส่ง , อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนศรีดรุณ จังหวัดสมุทรปราการ  โดยใช้ระยะเวลาทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดประสบการณ์ดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คและแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์
คูมือการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค
การจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ผูวิจัยเปนผูดําเนินการจัดกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ใหกับเด็กสัปดาหละ 3 วัน คือในวันจันทร พฤหัสบดี ศุกร ระหวาง เวลา 9.109.50 น. เปนเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห รวม 24 กิจกรรม โดยมีจุดมุงหมายเพื่อสงเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร ดังนี้
1. การจัดหมวดหมู
2. การรูคาจํานวน 1 - 10
3. การเปรียบเทียบในเรื่องตอไปนี้ 
- จํานวน  ไดแก มาก นอย เทากัน - ไมเทากัน 
- ปริมาณ ไดแก มาก นอย หนัก เบา 
- ขนาด   ไดแก เล็ก กลาง ใหญ  สูง ต่ำ สั้น ยาว 
- รูปทรงเรขาคณิต ไดแก วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม
4. อนุกรม ลักษณะของกิจกรรมเปนกิจกรรมดนตรีที่เด็กไดลงปฏิบัติ โดยผสานกิจกรรมตางๆเขา
ดวยกันอยางผสมกลมกลืน ไดแก   
- คําพูด ( Speech)   
- การรองเพลง (Singing)   
- ลีลาและการเคลื่อนไหว (Movement)   
- การใชรางกายทําจังหวะ (The Use of Body in Percussion)   
- การคิดแตงทํานองหรือทาทางแบบทันทีทันใด (Improvisation)
ซึ่งการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สามารถบูรณาการสาระการเรียนรูในดาน ตางๆผสมผสานเขาไปในกิจกรรมทั้ง 5   ดังกลาว การวิจัยครั้งนี้ตองการศึกษาความสัมพันธของการจัด ประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค สัมพันธกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร ในการวาง แผนการจัดกิจกรรมแตละครั้งจึงตองมีการบูรณาการเนื้อหาสาระทางดานคณิตศาสตรกับกิจกรรมดนตรี
เพื่อสงเสริมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตรอยางสัมพันธกัน  เพื่อใหการจัดกิจกรรมดังกลาว บรรลุตามวัตถุประสงค ผูดําเนินการควรมีพื้นฐานความเขาใจ ในเรื่องพัฒนาการเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการ ดนตรี ควรเปนผูที่มีความละเอียด รอบคอบ ชางสังเกต ใจ กวางที่จะใหโอกาสเด็กไดแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ ตลอดจนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ ของเด็กเชื่อวาดนตรีพัฒนาเด็กๆไดและที่สําคัญ คือ การคํานึงถึงความแตกตางระหวางบุคคล
นอกจากนั้นทุกครั้งกอนที่จะจัดประสบการณกิจกรรมดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรค ในแตละ ครั้ง ผูดําเนินการควรมีการตระเตรียมความพรอมทั้งในดานของสถานที่ บรรยากาศ ตลอดจนสื่อ อุปกรณที่หลากหลาย เครื่องดนตรีชนิดตางๆที่สอดคลองกับเนื้อหาของกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อใหการดําเนิน กิจกรรมเปนไปอยางราบรื่น และบรรลุตามจุดประสงคที่ตั้งไว
ออรฟเนนใหเด็กไดสัมผัสและมีปฏิสัมพันธกับสื่อมากที่สุด โดยเริ่มจากสื่อที่ใกลตัวขยายสูสื่อที่ ไกลออกไป ดังนั้น สื่อของออรฟจึงเริ่มจากรางกายของเด็กเอง ไปจนถึงสื่อสําเร็จรูปตางๆ เชน เครื่อง ดนตรี เพลง
เพลงที่ออรฟใชในการจัดประสบการณดนตรีแนวออรฟชูคเวิรคนี้มีที่มาหลากหลาย ทั้งจาก เพลงที่ออรฟแตงเอง เพลงที่เด็กแตงขึ้น และเพลงจากนักแตงเพลงทานอื่น ที่สอดคลองกับหลักการของ ออรฟ เนื่องจากเพลงที่ออรฟแตงเองมีไมมากนักและวัตถุประสงคหลักของการเขียนเพลงของออรฟ คือ แตงเพียงเพื่อเปนแบบ (models) เพื่อการ improvisation สวนประกอบที่ออรฟใชแตงเพลงสําหรับเด็ก คือ 1) pentatonic mode (โนต 5ตัว ซึ่งมีความสัมพันธของเสียง โด เร มี ซอ ลา)  2) ostinato patterns และ borduns (แบบแผนของตัวโนตซ้ําๆที่เดินอยูตลอดทั้งเพลง) ซึ่งออรฟตั้งใจใหเด็กคิดขึ้นมาเอง เชน เพลง Day Is New Over ซึ่งเปนเพลงที่มีแบบแผนของเพลงชัดเจน บรรเลงงาย มีทํานองและเนื้อรอง แบงออกเปนทอนๆอยางแนนอน มีทอนลอและทอนรับ ซึ่งงายตอการเลียนแบบเพื่อนําไปคิดแตงทํานอง ตอดวยตนเอง
ดังนั้น ในการจัดประสบการณดนตรีตามแนวออรฟชูคเวิรคนั้น สื่อจึงมีความหลากหลายและมี ความหมายเฉพาะตัว ทั้งสื่อที่ใกลตัว สิ่งที่ประดิษฐเอง และสื่อสําเร็จรูป ผูดําเนินการวิจัยจึงจําเปนตอง ศึกษาและเรียนรู วิธีการใช เปาหมายของสื่อแตละชนิด เพื่อนํามาใชใหสอดคลองกับกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผูเรียนใหบรรลุตามเปาหมายที่วางไว้
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางดนตรีตามแนวออร์ฟชูคเวิร์คมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านอนุกรม

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

สัปดาห์ที่ 2

วัน พุธ ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

บรรยากาศการเรียนการสอน

        คุณครูสอนการมีเหตุผลพร้อมกับอธิบาย แจกกระดาษ A4 โดยให้นักศึกษาหยิบกระดาษ จำนวน 1 แผ่น แล้วส่งกระดาษที่เหลือต่อให้เพื่อน  และคุณครูถามว่า การแจกกระดาษเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ อย่างไร เพื่อนในห้องเรียนต่างพากันช่วยกันตอบว่า การจับคู่แบบ 1:1 ,คิดคำนวณ ,การเป็นเหตุเป็นผล , เศษส่วน ,การจำแนก , การลบ  ต่อมาคุณครูถามว่า คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน มีอะไรบ้าง เพื่อนตอบกันว่า การทำอาหาร  ใช้ในเรื่องการตวงเครื่องปรุง , การเสียภาษี , ค่าของเงิน , การบันทึกรายรับ - รายจ่าย , เวลา วัน เดือน ปี , น้ำหนัก ส่วนสูง ทั้งหมดนี้ใช้ คณิตศาสตร์เป็น เครื่องมือ  เครื่องมือ คือ ภาษา
สรุป  คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้  ถ้าหากมีอะไรที่ขาดหายไปในชีวิตและเกิดผลกระทบ = สำคัญ


ความรู้ที่ได้รับ

         -   การคิดคำนวณ
         -   ฝึกสมอง
         -   เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
         -   คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ

การนำไปประยุกต์ใช้

      สามารถใช้ได้ตลอดเวลา

เทคการสอนของคุณครู

          คุณครูได้ให้นักศึกษาฝึกสังเกต คิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง


ประเมินคุณครูผู้สอน

       คุณครูได้อธิบายรายละเอียดของรายวิชาอย่างชัดเจนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถามและฝึกการคิดรวบยอด  สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม คือ การนครองตัวในชีวิตประจำวัน รู้จการรับผิดชอบ

บันทึกสรุปบทความ 6 เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ เคล็ดลับสำหรับเด็กเกลียดเลข

เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2548

นางสาวพัชรินทร์ เสรี นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บอกว่างานในช่วงเช้าของวันที่ 29 สิงหาคม 2548 จะมีการบรรยายเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในช่วงบ่ายจะเข้าสู่การบรรยายเทคนิควิธีการสอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์
      
       “เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์ ความรู้ด้านคณิตศาสตร์จะไม่ได้ตามวัยของเด็ก อย่างเช่นการบวก ลบ คูณ หาร จำนวนต่างๆ เด็กจะไม่รู้ตามวัยที่ควรจะรู้
      
       ส่วนเทคนิคที่จะนำมาสาธิตให้ครูที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ได้เรียนรู้ มีทั้งสิ้น 6 วิธีซึ่งใช้ได้ผลในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย
      
       1.ใช้การละเล่นพื้นบ้าน ใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านมาสอนเด็ก ซึ่งจะสอนเรื่องการเปรียบเทียบ การวัดระยะทาง การบวกลบคูณหาร
      
       2.สอนเทคนิคการอ่านโจทย์เลข เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะอ่านโจทย์เลขไม่ได้ ซึ่งจะอ่านไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าโจทย์ถามอะไร หมายความอย่างไร เมื่ออ่านโจทย์ไม่ได้ก็จะส่งผลถึงการคิดเลขด้วย ซึ่งเราจะใช้วิธีการทางกราฟิกเข้ามาช่วยในการอ่านโจทย์ปัญหา
      
       3.ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย เน้นคำถามเชิงเปรียบเทียบและคำถามเชิงเหตุผลแต่ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย เราอาจจะสอนเด็กด้วยการปั้นหุ่นยนต์ซึ่งอาจจะมีอุปกรณ์เป็นดินน้ำมันหรือแป้งโด กระดาษ จากนั้นคุณครูอาจบอกว่า มีแป้งโดกับกระดาษ และถ้านำของสองสิ่งนี้ไปวางที่ประตูแล้วมีลมพัดมา นักเรียนคิดว่าระหว่างแป้งโดกับกระดาษอะไรจะปลิวไป นักเรียนที่มีปัญหาด้านความบกพร่องทางการเรียนรู้จะเปรียบเทียบไม่ได้ว่าอะไรหนักหรือเบากว่ากัน ลักษณะการสอนเช่นนี้เป็นการสอนเปรียบเทียบและต้องสอนต่อว่าถ้ากระดาษปลิวเพราะอะไร
      
       4.การอ่านการ์ตูน เราต้องทำเป็นเรื่องราวสอนเกี่ยวกับตัวเลข บวก ลบ คูณหารเด็กจะสนุกกับภาพการ์ตูนและจะเรียนรู้ได้มากขึ้น
      
       5.การเล่นบทบาทสมมติ อาจจะให้เด็กนักเรียนในชั้นออกมานับหนังสือ 20 เล่ม จากนั้นให้เพื่อนออกมาหน้าชั้นเรียนอีก 5 คน นักเรียนคิดว่าจะได้คนละกี่เล่ม จากนั้นเด็กก็จะเริ่มแจกจนหนังสือหมด แล้วเด็กจะได้คำตอบเป็นการสอนเรื่องการหาร
      
       6.เกม ซึ่งจะใช้เกมเศรษฐีและการทอยลูกเต๋า เป็นการสอนเรื่องตัวเลข เด็กจะรู้ว่าแต้มไหนมากกว่าแต้มไหนน้อยกว่า
      
       การสอนวิชาการเพียงอย่างเดียวจะใช้ไม่ได้ผลกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะชอบความสนุกต้องออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นทั้งการเรียนและการเล่นให้อยู่ด้วยกัน การเรียนลักษณะนี้เป็นรูปธรรมชัดเจน เด็กจะเข้าใจง่ายเรียนรู้ได้เร็ว

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

สัปดาห์ที่ 1

วัน พุธ ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

บรรยากาศการเรียนการสอน

        คุณครูได้แจกกระดาษ A4 และให้แบ่งกระดาษ ออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน แล้วแจกให้เพื่อนคนละ 1 ส่วน และคุณครูได้พูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เมื่อคุณครูพูดจบ...คุณครูได้ให้นักศึกษาเขียนจุดเด่นของตนเองโดยที่ไม่ต้องเขียนชื่อลงในกระดาษที่แจกให้  เพื่อใจคุณครูจำได้ง่ายที่สุด  หลังจากนั้นทุกคนส่งกระดาษกับคุณครู แล้วคุณครูได้อ่านกระดาษที่นักศึกษาเขียนทีละแผ่นพร้อมกับทายว่าเป็นลักษณะเด่นของนักศึกษาคนใด เมื่อคุณครูทายเพื่อนๆครบหมดทุกคนแล้ว  คุณครูได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับการบันทึกเนื้อหาการเรียนทั้งหมดในแต่ละสัปดาห์ลงในบล็อกเพื่อเสมือนเป็นแฟ้มสะสมผลงานอย่างหนึ่ง

ทักษะที่ได้รับ

        -  ฝึกการคิดและวิเคราะห์
        -  การแก้ไขปัญหา
       

ความรู้ที่ได้รับ

         -   การคิดคำนวณ
         -   ฝึกสมอง
         -   เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

การนำไปประยุกต์ใช้

       เมื่อได้ออกไปฝึกสอนสามารถนำหลักการแบ่งกระดาษนี้ไปเป็นการฝึกให้เด็กคิดและวิเคราะห์แก้ไขปัญหาได้

เทคการสอนของคุณครู

          คุณครูได้ให้นักศึกษาฝึกสังเกต คิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง


ประเมินคุณครูผู้สอน

       คุณครูได้อธิบายรายละเอียดของรายวิชาอย่างชัดเจนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามข้อสงสัย  สอดแทรกคุณธรรม คือ การตรงต่อเวลา  การแต่งกายให้เรียบร้อย  การมีวินัย  การซื่อสัตย์  
                จริยธรรม คือ การนอบน้อม