วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สัปดาห์ที่ 14
วัน พุธ ที่ 25  เมษายน  พ.ศ. 2559

บรรยากาศการเรียนการสอน
วันนี้คุณครูได้แจกแบบฟอร์มการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้แต่ละกลุ่มได้เขียนตามหน่วยของกลุ่มตนเอง  กลุ่มของดิฉันคือหน่วย กล้วย  มีแผนการจัดประสบการณ์ทั้งหมด 5 แผน  ตามวัน คือ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์


สาระการเรียนรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
รู้จักชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
ธรรมชาติรอบตัว
รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน-กลางคืน ฯลฯ
สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก
ประสบการณ์สำคัญ
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
-                   การทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดใหญ่
-                   การประสามสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
-                   การรักษาสุขภาพ
-                   การรักษาความปลอดภัย
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
-                   ดนตรี
-                   สุนทรียภาพ
-                   การเล่น
-                   คุณธรรมจริยธรรม
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
-                   การเรียนรู้ทางสังคม
-                   การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเอง
-                   การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
-                   การวางแผน ตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ
-                   การมีโอกาสได้รับความรู้สึก ความสนใจ และความต้องการของตนเองและผู้อื่น
-                   การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพ ความคิดเห็นของผู้อื่น
-                   การแก้ปัญหาในการเล่น
-                   การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
-                   การคิด
-                   การใช้ภาษา
-                   การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ
-                   จำนวน
-                   มิติสัมพันธ์ (พื้นที่/ระยะ)
-                   เวลา
จาก หน่วยการเรียนรู้  กล้วย  ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
1.เด็กสามารถแยกชนิดของกล้วยได้
2.เด็กบอกลักษณะภายนอก/ภายใน กลิ่น และรสชาติ ของกล้วยได้
3.เด็กรู้วิธีการเก็บรักษาหรือการถนอมกล้วยไว้กินนานๆได้
4.เด็กรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของกล้วยและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
5.เด็กรู้จักวิธีการแปรรูปกล้วยที่หลากหลาย

การบูรณาการรายวิชา
-คณิตศาสตร์
-พลศึกษา
-ศิลปะ
-สังคม
-ภาษา

ทักษะที่ได้รับ

-                   -       การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-                   -       การแสดงความคิดเห็น
-                   -       การฟังและตอบคำถามอย่างมีเหตุผล
-                   -       การคิดริเริ่มสร้างสรรค์
-                   -       การบูรณาการกีบรายวิชาอื่นๆ
-                   -       การทำงานร่วมกับผู้อื่น
-                    -       การคิดวิเคราะห์
-                   -       การวางแผนในการทำงาน
-                    -       การแก้ไขปัญหา
-                    -       การเชื่อมโยงเนื้อหา
ความรู้ที่ได้รับ
-                   -       การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-                  -        การคิดวิเคราะห์
-                  -        การวางแผนและกระบวนการทำงาน
-                  -        การแก้ไขปัญหา

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเอาความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ทั้ง 6 กิจกรรมหลัก มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย รวมถึงหลักหรือวิธีการในการบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ ในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ เช่น หน่วยผลไม้ หน่วยยานพาหนะ หน่วยของเล่นของใช้ หน่วยอาชีพ เป็นต้น
เทคนิคการสอนของคุณครู

1. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและวางแผน
2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดอย่างมีเหตุผล
3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา


ประเมินคุณครูผู้สอน



คุณครูได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและวางแผนออกแบบ  คิดอย่างมีเหตุผล   วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา  อีกทั้งได้อธิบายเนื้อหาการเรียนพร้อมกับยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่าย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถาม
สัปดาห์ที่ 13
วัน พุธ ที่ 20  เมษายน  พ.ศ. 2559

บรรยากาศการเรียนการสอน

คุณครูได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอนิทานที่คุณครูได้สั่งให้วางโครงเรื่องนิทานที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ของกลุ่มตนเองเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  นิทานที่แต่ละกลุ่มได้แต่งมานั้นล้วนสอดคล้องกับรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จคุณครูได้ให้คำแนะนำส่วนที่เพิ่มเติมให้กับทุกกลุ่ม
กลุ่มที่ 1  เรื่อง  กล้วย  กล้วย   ( ประโยชน์และข้อควรระวังของกล้วย )
นิทานเรื่อง  กล้วยน้อยช่างคิด
กลุ่มที่ 2  เรื่อง  ของเล่น   ของใช้
นิทานเรื่อง  หนูจินสอนเพื่อน   ( ประโยชน์และข้อควรระวังของของเล่น ของใช้ )
กลุ่มที่ 3  เรื่อง  ผลไม้  ( ประโยชน์ของผลไม้ )
นิทานเรื่อง  ประโยชน์ของผลไม้
กลุ่มที่ 4  เรื่อง  ยานพาหนะ  ( วิธีการดูแลรักษา )
นิทานเรื่อง  หมีน้อยกับรถคู่ใจ
ต่อมาคุณครูให้แก้ไขนิทานให้สอดคล้องกับรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้สมบูรณ์  แล้วนำมาส่งในวันที่ 3 พฤษภาคม 59

ทักษะที่ได้รับ

-                   การนำเสนองาน
-                      การคิดวิเคราะห์
-                   การบูรณาการระหว่างเนื้อหาและรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-                   การวางแผนในการทำงาน
-                     การแก้ไขปัญหา
-                     การเชื่อมโยงเนื้อหา
ความรู้ที่ได้รับ
-                    การคิดวิเคราะห์
-                    การวางแผนและกระบวนการทำงาน
-                    การแก้ไขปัญหา

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้  เช่น  การเล่านิทาน เนื้อหาเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เด็กจะได้ความสนุก  ความตื่นเต้นในการฟังนิทาน 
เทคนิคการสอนของคุณครู

1. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและวางแผน
2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดอย่างมีเหตุผล
3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา


ประเมินคุณครูผู้สอน



คุณครูได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและวางแผนออกแบบ  คิดอย่างมีเหตุผล   วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา  อีกทั้งได้อธิบายเนื้อหาการเรียนพร้อมกับยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่าย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถาม

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สัปดาห์ที่ 12
วัน พุธ ที่ 30 มีนาคม  พ.ศ. 2559

บรรยากาศการเรียนการสอน

                คุณครูให้เพื่อนออกมานำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย  ต่อมาคุณครูให้แต่ละกลุ่มออกมาจัดการสอน


การสอนวันจันทร์  มี 2 กลุ่ม ได้แก่
1. เรื่อง  ยานพาหนะ


            สอนให้เด็กทราบถึงชนิดของยานพาหนะ และสามารถแยกประเภทของยานพาหนะได้
2. เรื่อง  ของเล่น ของใช้

                สอนให้เด็กแยกประเภทและทราบถึงวิธีการใช้หรือเล่นสิ่งของนั้นๆ
การสอนวันอังคาร  มี 2 กลุ่ม ได้แก่
1. เรื่อง  ผลไม้

                เป็นการสอนที่ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  เช่น สี  รสชาติ  ขนาด  รูปทรง  ผิว
2. เรื่อง  กล้วย  กล้วย

                สอนความแตกต่างของกล้วยหอมและกล้วยไข่ว่ามีความเหมือนและมีความแตกต่างกันอย่างไร

ทักษะที่ได้รับ

-                   การคิดวิเคราะห์
-                   การฟัง
-                   การแก้ไขปัญหา
-                   การเชื่อมโยงเนื้อหา
-                   การตอบคำถาม


ความรู้ที่ได้รับ
-                    การคิดวิเคราะห์
กระบวนการสอน
-                    การแก้ไขปัญหา

การนำไปประยุกต์ใช้
-                   นำข้อมูลที่เพื่อนนำเสนอมาปรับใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของตนเอง  เพื่อนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย

เทคนิคการสอนของคุณครู

1. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและวางแผน
2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดอย่างมีเหตุผล
3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา


ประเมินคุณครูผู้สอน


คุณครูได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและวางแผนออกแบบ  คิดอย่างมีเหตุผล   วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา  อีกทั้งได้อธิบายเนื้อหาการเรียนพร้อมกับยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่าย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถาม