สัปดาห์ที่ 7
วัน พุธ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
บรรยากาศการเรียนการสอน
คุณครูให้นำไม้เสียบลูกชิ้นที่จัดเตรียมมาวางไว้บนโต๊ะเรียนของตนเอง และคุณครูได้แจกดินน้ำมันให้คนละ1 ก้อน ต่อมาคุณครูได้ให้นักศึกษาออกแบบเพื่อเชื่อมต่อไม้เสียบลูกชิ้นที่มีอยู่ให้เป็นรูปทรงที่คุณครูกำหนด
รูปแบบที่ 1
คุณครูให้นักศึกษาทำเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
|
รูปแบบที่ 1 |
รูปแบบที่ 2
คุณครูให้นักศึกษาทำเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมพีระมิด
|
รูปแบบที่ 2 |
รูปแบบที่ 3
คุณครูให้นักศึกษาทำเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
|
รูปแบบที่ 3 |
รูปแบบที่ 4
คุณครูให้นักศึกษาทำเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีมิติมากขึ้น
|
รูปแบบที่ 4 |
แล้วแต่ตนเองจะออกแบบ
ซึ่งในการออกแบบของแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป
ทักษะที่ได้รับ
ทักษะการออกแบบรูปทรงเรขาคณิตศาสตร์
ทักษะการคิดอย่างเป็นเหตูเป็นผล
ทักษะการวิเคราะห์ปัญหา
ทักษะการแก้ไขปัญหา
ความรู้ที่ได้รับ
การคาดคะเน
การคิดวิเคราะห์
การแก้ไขปัญหา
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้ เช่น
การเล่านิทาน แบบเล่าไปประกอบไม้ให้เป็นรูปทรงทางเรขาคณิตศาสตร์ไป เด็กจะได้ความสนุก ความตื่นเต้นในการฟังนิทาน เด็กได้เรียนรู้รูปทรงทางคณิตศาสตร์ ว่ามีมุมกี่มุมของรูปทรงนั้นๆ มีหน้าของรูปทรงนั้นๆกี่หน้า รู้จักการนับ
และ รู้จักการเปรียบเทียบ
อีกทั้งยังสามารถให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยครูควรที่จะจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เด็ก
ที่สำคัญควรคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเด็กด้วย และครูควรที่จะดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดในการทำกิจกรรม
เทคนิคการสอนของคุณครู
1. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ออกแบบ
2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดอย่างมีเหตุผล
3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
ประเมินคุณครูผู้สอน
คุณครูได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ออกแบบ คิดอย่างมีเหตุผล วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา อีกทั้งได้อธิบายเนื้อหาการเรียนพร้อมกับยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่าย
และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ตอบคำถาม
สรุป
การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย